บุหรี่

ต้านดื่มเหล้า-สูบบุหรี่ สสส. สร้าง”คอนเทนต์” ปลุกพลังให้เหล่าเยาวชน

แม้ว่าสังคมในปัจจุบัน มีคนไทยจำนวณไม่น้อย ที่มีการคล่องเกี่ยวกับบุหรี่ และเหล้าลดลง แต่ก็ยังมีผู้ป่วยจากควันบุหรี่ โดยที่ตัวเองไม่ได้สูบ ถึงปีละ 8000 คน จนทำให้ กระทรวงสาธารณสุข ต้องใช้งบประมาณไปกับค่ารักษาพยาบาล ถึงปีล่ะ 140,000 ล้านบาท จึงส่งผลให้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดการอบรมขึ้นมา

และจากสถิติที่ผ่านมา จากข้อมูลสถิติผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนทั้งหมด พบว่าภาคใต้มีเยาวชนสูบบุหรี่มากที่สุดเป็นอันดับ 1 และรองลงมาคือภาคอีสานโดยในปัจจุบันนั้น มีสิ่งเย้ายวนใจให้ลองเสพ ได้ง่าย เป็นจำนวณมาก ถึงแม้จะมีการจำกัดพื้นที่ในการสูบบุหรี่ก็ตาม และยังรวมไปถึงการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ที่กำลังเป็นที่นิยม แต่มีอันตรายไม่แพ้กัน

โครงการนี้มุ่งเป้าไปที่กลุ่มเยาวชนแกนนำใช้กิจกรรมการผลิตสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านการสร้างคอนเท้นต์ในรูปแบบ TIKTOK และ YOUTUBE จากนั้นมีการแข่งขันกันว่า TIKTOK หรือ YOUTUBE กลุ่มไหนจะมีผู้เข้าถึงมากที่สุด ซึ่งถือเป็นสื่อที่ตรงเป้าหมายที่สุด

บุหรี่

ด้าน นายลำปาง พันธ์เพชร ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น เปิดเผยว่า

การอบรมผู้นำภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำนักศึกษา อาชีวศึกษาป้องกันปัจจัยเสี่ยง(เหล้า-บุหรี่) ในสถานศึกษาเข้ามา ถือว่าเป็นความโชดดีของสถานศึกษาที่เป็นการเข้ามาเติมเต็มการป้องกันเหล้าบุหรี่ ในสถานศึกษาได้ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแกร่งมากขึ้น เนื่องจาก สสส.มีข้อมูลและแนวทางที่มองเห็นมิติแห่งการเข้าถึงกลุ่มเยาวชนมากขึ้น

น.ส.กัญญารัตน์ ล้อมพงษ์ นักศึกษาชั้น ปวส.ปี 2 สาขาวิชาอิเลคทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น หนึ่งในแกนนำที่เข้าร่วมโครงการยอมรับว่า บุหรี่ เหล้าเข้าถึงเยาวชนได้ง่ายจากค่านิยมและการเรียนแบบผู้ปกครองที่ตั้งวงสังสรรค์กันแล้วเลียนแบบด้วยการอยากรู้อยากลอง รู้สึกภูมิใจที่ได้เข้าร่วมโครงการและมาเป็นแกนนำครั้งนี้

เพราะนอกจากจะได้ความรู้จากการผลิตสื่อแล้ว ยังได้มีส่วนร่วมในการป้องกันเหล้าบุหรี่ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสังคม เศรษฐกิจของประเทศด้วย ขณะที่ น.ส.ชูธินันร์ จิตตมาตร นักศึกษา ชั้น ปวส.ปี 1 สาขาการจัดการ อีกหนึ่งเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมองว่า เยาวชนส่วนใหญ่ที่หลงผิดไปยุ่งเกี่ยวกับเหล้าบุหรี่ เกิดจากความอยากรู้อยากลองและการชักชวนโดยเพื่อน

ซึ่งการจะเลิกนั้นค่อนข้างยาก แต่สามารถทำได้ถ้าตั้งใจโดยเริ่มจากลดจำนวนลง น่าจะง่ายกว่า ส่วนในการเข้าร่วมเป็นแกนนำในครั้งนี้จะพยายามเรียนรู้และผลิตสื่อให้เข้าถึงกลุ่มเยาวชนมากที่สุด ซึ่งถือว่าปัจจุบันโลกออนไลน์กว้างมากมีหลากหลายช่องทางให้กลุ่มเยาวชนเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้ ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพ ของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2564

ในอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า นิยมดื่มเบียร์เป็นอับดับหนึ่ง 43% รองลงมาสุราขาวอันดับสอง 25.60% ขณะที่จังหวัดที่มีอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก 5 อันดับแรก ได้แก่ น่าน แพร่ เชียงราย สระแก้วและขอนแก่น ส่วนสถานการณ์การสูบบุหรี่พบว่า 60.8% ของนักสูบบุรี่หน้าใหม่ เป็นผู้มีอายุ15 – 19 ปี

ขอบคุณแหล่งที่มา : komchadluek.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : premierebulbs.com